ระบบเศรษฐกิจ
องค์การบริหารส่วนตำบลได้ดำเนินการสนับสนุนเงินทุนโดยการอุดหนุนกลุ่มอาชีพ, ชมรมผู้สูงอายุ, กลุ่มสตรี กลุ่ม อสม. และกลุ่มองค์กรต่างๆ ภายในตำบล เพื่อเป็นเงินทุนในการประกอบอาชีพ หรืออาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ในท้องถิ่นมีอาชีพที่มั่นคงถาวรและมีรายได้เลี้ยงชีพตามสมควร ซึ่งการประกอบอาชีพของประชาชนในท้องถิ่น ได้แก่ การทำนา การค้าขายและบริการ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นท้องถิ่นที่ประชาชนมีรายได้อยู่ในระดับที่ดี แต่อย่างไรก็ตามองค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจให้กับประชาชนโดยทางอ้อม ได้แก่ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งผลผลิตการเกษตร
1. การเกษตร
1.1 การประกอบอาชีพ
สภาพทางเศรษฐกิจภายในองค์การบริหารส่วนตำบลหนองทุ่ม ส่วนใหญ่แล้วราษฎรจะประกอบอาชีพ เกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ เช่น ทำนา เลี้ยงสัตว์ ทำไร่ ทำสวน เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วจะประกอบอาชีพรับจ้าง รับราชการ ธุรกิจ ร้านค้าขนาดเล็ก โดยรวมแล้วราษฎรจะประกอบอาชีพหลายอย่างควบคู่กันไปการเพาะปลูกส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนและแหล่งน้ำธรรมชาติ นอกจากนี้ในฤดูแล้งยังใช้น้ำจากบ่อบาดาลและบ่อขุดช่วย ใช้ในการเกษตร
1.2 การปศุสัตว์
ประชากรส่วนใหญ่เลี้ยงสัตว์ หลายชนิด ได้แก่ โค กระบือ ไก่พื้นบ้าน เป็ด หมู ฯลฯ
1.3 การท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวมีโบราณสถาน 1 แห่ง
- วัดกู่มิถิลา บ้านหนองตาไก้ ตำบลหนองทุ่ม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
1.4 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
ตารางที่ 6 หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองทุ่ม
หน่วยธุรกิจ
|
จำนวน(แห่ง)
|
ร้านอาหาร
|
5
|
โรงสีข้าว
|
10
|
ร้านค้าเบ็ดเตล็ด
|
32
|
โรงทำขนมจีน
|
9
|
โรงซื้อของเก่า
|
1
|
โรงงานผลิตน้ำดื่ม
|
1
|
โรงงานเฟอร์นิเจอร์
|
2
|
ร้านซ่อมรถ
|
2/1
|
ร้านตัดผม
|
1
|
ร้านคอมพิวเตอร์ถ่ายเอกสาร/ร้านเกมส์
|
3
|
ที่มา : ข้อมูลจากพัฒนาชุมชนและจัดเก็บรายได้ อบต.หนองทุ่ม เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2559
เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น(ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
1. ข้อมูลพ้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน
ตำบลหนองทุ่มมีหมู่บ้านที่ทำด้านเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่
1.1 บ้านหนองเผือก หมู่ที่ 3 ตำบลหนองทุ่ม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม มี
นายเฉลิมศักดิ์ มาแก้ว เป็นผู้ใหญ่บ้าน มี สมาชิก อบต. จำนวน 2 คน ได้แก่ นายยอด คลังดงเค็ง และ
นายสมพร เชียงเหนือ ได้เป็นหมู่บ้าน
2. ข้อมูลด้านการเกษตร
เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบ เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรม ดังนั้นรายได้ส่วนใหญ่ของคนในตำบลจึงมาจากการเกษตรกรรม รายได้เฉลี่ยต่อปีของประชากร ดังนี้
|